รัฐไม่ประกาศ! หมอประกาศเอง ยกระดับการระบาดเป็นระยะ 3

แค่นักรบในเสื้อกาวน์ จะต้องรับมือกับผู้ป่วยติดเสื้อ COVID-19 อาการรุนแรง
นีริพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรวชข์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมก 13 มีนาคม 2563

สถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์ระบุว่า ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ได้เข้าสู่ภาวะแพร่ระบาดไปทั่วโลกแล้ว

หลังมีการลุกลามไปยังหลายประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก นอกขจากนี้ นอกจากนี้ WHO ยังได้กล่าวตำหนิผู้นำของหลายประเทศที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

ส่วนประเทศไทย ก็ยังไม่มีการประกาศสถานการณ์เข้าสู่โรคระยะ 3 แต่อย่างใด ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (แพทย์ทรวงอก) ได้ออกแถลงการณ์

หัวเรื่องว่าแด่นักรบในเสื้อกาวน์ ที่จะต้องรับมือผู้ป่วยติดเชื้อ coVID-19 อาการรุนแรง

ตามที่ได้มีคนไทยป่วยจากการติดเชื้อ covID-19 เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีผู้ป่วยบางรายที่น่าจะติด เชื้อจากการระบาดภายในประเทศเราเอง ซึ่งหมายถึงการเริ่มเข้าสู่สถานการณ์ของโรคระยะที่ 3 สมาคมอุรเวชช์ฯ ได้เล็งเห็นแนวโน้มนี้และได้มีการเตรียมความพร้อมในเชิงวิชาการตั้งแต่สัปดาห์ก่อน

ซึ่งตลอดสัปดาห์นี้ สมาคมฯ ได้พยายามผลักดันการเตรียม ความพร้อมในเชิงการบริหารจัดการผ่านทางหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งแม้จะได้รับการตอบสนองที่ดี ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ดีพอที่จะรับมือกับวิกฤตสุขภาพสําคัญของประเทศอีกครั้ง

ในสถานการณ์ของโรคระยะที่ 3 นั้น โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนทุกแห่ง จะต้องค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อ coVID-19 ที่มีอาการ รุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้องรังบางชนิตอยู่เต็มซึ่งเมื่อเริ่มติดเชื้อ coVID-19 แล้วมีโอกาสโรครุนแรงสูง เพื่อรับตัวไว้ในโรงพยาบาล

สําหรับการรักษาให้หายขาด ลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด และที่สําคัญคือช่วยตัดวงจรการระบาดต่อไป ซึ่งการที่จะถึงพร้อมในหน้าที่ เหล่านี้ จําเป็นที่จะต้องจัดเตรียมองค์ความรู้ จัดหาการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่รวดเร็วและแพร่หลาย จัดเตรียมยาและ อุปกรณ์การแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองสําหรับบุคลากรทางการแพทย์อย่างเพียงพอ

ในฐานะของสมาคมวิชาชีพแพทย์ ที่ต้องมีส่วนทําหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยตรง เป็นความรับผิดชอบของสมาคมฯ ที่ จะต้องจัดเตรียมองค์ความรู้ที่ดีที่สุดสําหรับผู้ปฏิบัติงาน

ซึ่งจะต้องนําไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของแต่ละ โรงพยาบาล พร้อมกันนี้จึงเป็นที่มาของการเผยแพร่ “แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ covID-19 ที่มีอาการรุนแรง” ในส่วน ของการส่งผ่านข้อกังวลและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการต่อหน่วยงานสูงสุดที่รับผิดชอบ สมาคมฯ ได้ทําหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า กลไกของรัฐที่จะตอบสนองต่อภาวะวิกฤตของประเทศมักจะตามหลังสถาณการณ์ จริงอย่างน้อยหนึ่งก้าวเสมอ แต่นั่นไม่ได้ทําให้จิตวิญญาณของพวกเราเหล่าวิชาชีพแพทย์และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง จะยอมจํานน ให้กับศัตรูตัวจิ๋วที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าโดยง่าย

และพวกเราก็จะไม่ยอมก้มหัวให้กับผู้รับผิดชอบระดับสูง ที่ขาดความเชี่ยวชาญและ เข้าใจบริบทการทํางานของพวกเราอย่างถ่องแท้ ได้เวลาแล้วที่พวกเราต้องเตรียมทําศึกแม้จะไม่มีอาวุธที่มีประสิทธิภาพและแม่

ทัพที่เด็ดขาดเข้มแข็ง สิ่งหนึ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวอุดมการณ์ของพวกเราไว้ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ คือคําสอนของสมเด็จพระบรมราชชนก ผู้ก่อกําเนิดการแพทย์แผนใหม่ในประเทศสยาม “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษเปนกิจหนึ่ง”

ขอบคุณเนื้อหาจาก : IMAGE MAGAZINE

เครดิตข่าวโดย: thaismiletopic
เรื่องอื่นๆ

กรมที่ดิน

ก่อนหน้า