แจกเงินเยียวยาโควิด-19 คนละ 1,000-2,000 บาท คลังชงรับทรัพย์ 14 ล้านคน

เงินเยียวยาโควิด-19 ลงทะเบียนใหม่ ผู้มีรายได้น้อย อาชีพอิสระ และเกษตรกร 14 ล้านคน คนละ 1,000-2,000 บาท คลังชงแจกเงิน พร้อมมาตกรการช่วยเหลือ SME ตลาดทุน

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอชุดมาตรการและแผนเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ชุดที่ 1 ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เศรษฐกิจพิจารณา โดยมาตรการจะประกอบด้วย การโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ให้ประชนผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกรรายละ 1,000-2,000 บาท ซึ่งผู้ที่ได้รับเงินดังกล่าวสามารถกดเงินสด เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการได้ทันที ทั้งนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะโอนเงินดัวกล่าวในคราวเดียว หรือทยอยให้เป็นรายเดือน ซี่งจะต้องคำนึงถึงผลของมาตรการด้วยว่าจะต้องให้เห็นผลในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้าด้วย

ทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับเงินโอนดังกล่าวจะต้องลงทะเบียนใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนตามมาตรการชิมช้อปใช้ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ผู้ที่ถือบัตรเหล่านี้ หากเข้าเกณฑ์ก็อาจได้รับเงินดังกล่าวด้วย ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีผู้ได้รับเงินประมาณ 14 ล้านคน

ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งผู้ประกอบธุรกิจและภาคท่องเที่ยวทุกกลุ่ม จะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมาก เพื่อไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับธุรกิจ พร้อมทั้งจะมีมาตรการภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการ ให้จ้างพนักงานต่อ โดยให้นำค่าใช้จ่ายจากการจ้างมาหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า และกรมสรรพากรจะออกประกาศให้ผู้ประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายลง เพื่อให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องมากขึ้น รวมทั้งจะมีการตั้งกองทุน เพื่อให้เงินสนับสนุนให้นายจ้างนำเงินไปจ่ายให้พนักงานที่ต้องหยุดทำงานชั่วคราวด้วย

นอกจากนี้ยังจะมีมาตรการช่วยเหลือตลาดทุน ที่ได้รัลผลกระทบจากCovid-19 เช่นกัน โดยขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กรมสรรพากร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กำลังพิจารณาการปรับเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ให้เหมือนกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว เพื่อช่วยประคองตลาดทุนในภาวะที่ดัชนีปรับตัวลดลงมาก ส่วนจะเพิ่มวงเงินลงทุนได้ 5 แสนบาท และระยะเวลาการถือครอง 7 รอบบัญชีเหมือนเดิมหรือไม่ อยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ยืนยันมาตรการนี้จะเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น

ส่วนกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งพิเศษ 0.50% นายอุตตม มองว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ในส่วนของไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ้งเป็นอำนาจของ ธปท.ที่จะตัดสินใจว่าจะปรับลดดอกเบี้ยเร่งด่วนลักษณะเดียวกันหรือไม่

“ที่ผ่านมาคลังได้หารือกับธปท.ใกล้ชิด การออกมาตรการครั้งนี้ ก็ได้ให้ ธปท.เข้าหารือด้วยเพื่อให้เห็นภาพรวมชุดมาตรการทั้งหมดว่าคลังจะดำเนินมาตรการอะไรบ้าง เพื่อพิจารณาว่านโยบายการเงินควรเป็นอย่างไร ก่อนการประชุคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 มี.ค.นี้”นายอุตตม กล่าว

เครดิตข่าวโดย: springnews
เรื่องอื่นๆ

กรมที่ดิน

ก่อนหน้า