11 มิ.ย. 2563
สพฐ. เผยผลสำรวจความพร้อมการเรียนทางไกล ระยะ1 พบน.ร.เข้าใจเนื้อหา65% มีความสุข 56%
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมรายงานว่าขณะนี้โรงเรียนทุกแห่งได้รับการจัดส่งหนังสือเรียนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ตนได้กำชับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ติดตาม และสอบถามการจัดส่งหนังสือที่นักเรียนจะต้องใช้เรียนในช่วงปิดภาคเรียนระหว่างใช้ทดลองเรียนทางไกล เพื่อให้นักเรียนมีหนังสือทันใช้ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้
นายอำนาจกล่าวต่อว่า จากที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมมือกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระราชูปถัมภ์ (ดีแอลทีวี) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการใช้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล จำนวน 17 ช่อง เพื่อจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านโทรทัศน์ เริ่มเรียนระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน ซึ่งทางสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ได้รายงานผลสำรวจความคิดเห็นต่อความพร้อมการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ผ่าน OBEC POLL ในระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-28 พฤษภาคม มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 17,916 คน แบ่งเป็น นักเรียน 4,296 คน ครู 7,320 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 1,290 และ ผู้ปกครอง 5,010 คน
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า จากการสอบถามจะถาม 6 ด้าน พบว่า 1.ด้านความพร้อมของระบบ มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสมเทคต่างๆ สำหรับใช้ในการเรียนการสอนทางไกล มี 94% ไม่มี 6% มีคู่มือ ใบงาน ใบกิจกรรม แบบฝึกสำหรับการเรียนการสอนทางไกล มี 88% ไม่ 12% 2.ด้านการเข้าถึงระบบ มีการแนะนำและการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์และการเข้าถึงช่องทางในการจัดการเรียนการสอนทางไกล มี 91% ไม่มี 9% มีช่องทางในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนทางไกล มี 93% ไม่มี 7% 3.ด้านบทบาทของครูและผู้ปกครอง ครูตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช่ 69% ไม่ใช่ 31% ครูส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนทางไกล มี 96% ไม่มี 4% ผู้ปกครองสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของนักเรียน มี 86% ไม่มี 14%
นายอำนาจกล่าวเพิ่มเติมว่า 4.ด้านการจัดการเรียนการสอน มีตารางเรียนหรือตารางสอนเพื่อการเรียนการสอนทางไกล มี 97% ไม่มี 3% ครูบันทึกข้อมูลการเรียนการสอนและรายงานผลให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ ใช่ 88% ไม่ใช่ 12% ครูทบทวนบทเรียน สอนเสริม หากนักเรียนมีข้อสงสัยหรือปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนทางไกล ใช่ 83% ไม่ใช่ 17% 5.ด้านความเข้าใจของนักเรียน ความสุขในการเรียน นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนผ่านการเรียนการสอนทางไกล มี 65% ไม่มี 35% นักเรียนมีความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนการสอนทางไกล มี 67% ไม่มี 33% นักเรียนมีความสุขที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนทางไกล มี56% ไม่มี 46% 6.ด้านความพึงพอใจ ผู้เกี่ยวข้องเข้าในสถานการณ์และให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน มี 90% ไม่มี 10% มีความพึงพอใจโดยภาพรวมกับการเรียนการสอนทางไกล มี 67% ไม่มี 33%
นายอำนาจกล่าวอีกว่า จากกการวิเคราะห์ข้อคิดเห็นคำถามปลายเปิดเพื่อตรวจสอบความพร้อมในการเรียนการสอนทางไกล ในด้านความพร้อม พบปัญหาดังนี้ ขาดทุนทรัพย์ในการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยี ร้อยละ 33 ขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี ร้อยละ 21 อุปกรณ์ที่มีอยู่ไม่สามารถใช้งานได้ ล้าสมัย ร้อยละ 19 ไม่มีเครื่องพิมพ์ ร้อยละ 11 อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร/ห่างไกลจากโรงเรียน ร้อยละ 4 ไม่มีอุปกรณ์ครบจำนวนนักเรียนที่บ้าน ร้อยละ 4 ยังไม่ได้รับใบกิจกรรมจากทางโรงเรียน ร้อยละ 3 บางระดับชั้นไม่มีใบกิจกรรม ร้อยละ 2 งบประมาณในการจัดทำคู่มือ ใบงาน ไม่เพียงพอ ร้อยละ 2 โรงเรียนไม่มีการเตรียมความพร้อม ร้อยละ 1
“ส่วนด้านการเข้าถึงระบบ จากการวิเคราะห์ พบปัญหาเช่น อยู่ในพื้นที่ทรุกันดาร ร้อยละ 44 ขาดทุนทรัพย์ ร้อยละ 37 ขาดการสนับสนุนช่องสัญญาณ ร้อยละ 11 เป็นต้น ด้านบทบาทของครูและผู้ปกครอง จากการวิเคราะห์พบปัญหา เช่น ผู้ปกครองมีภาระในการทำงาน ไม่มีเวลา ร้อยละ 44 ยังไม่มีการตรวจเยี่ยมบ้านจากทางโรงเรียน ร้อยละ 24 บ้านนักเรียนอยู่ห่างไกล ร้อยละ 15 มีนักเรียนจำนวนมาก ร้อยละ 6 นักเรียนไม่มีอุปกรณ์สื่อสารหากมีข้อสงสัย ร้อยละ 3 มีความลำบากในการเดินทาง ร้อยละ 2 ติดต่อผ่านออนไลน์แทนการตรวจเยี่ยม ร้อยละ 2 เป็นต้น ” นายอำนาจ กล่าว
นายอำนาจกล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน จากการวิเคราะห์พบปัญหา เช่น ยังไม่มีการบันทึก/รายงานจากครู ร้อยละ 21 ครูต้องรับผิดชอบนักเรียนจำนวนมาก ร้อยละ 20 การติดต่อเป็นไปด้วยความยากลำบาก ร้อยละ 13 เป็นต้น ส่วนด้านความเข้าในของนักเรียน ความสุขในการเรียน จากการวิเคราะห์พบปัญหา เช่น นักเรียนขาดสมาธิ ร้อยละ 27 นักเรียนเข้าใจเนื้อหาบางส่วน ร้อยละ 20 ครูต้นทางสอนเร็ว นักเรียนตามไม่ทัน ร้อยละ 19 เป็นต้น และด้านความพึงพอใจ จากการวิเคราะห์พบปัญหา เช่น มีความเลื่อมล้ำกับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อม ร้อยละ 27 ผู้ปกครองขากความพร้อมทั้งด้านการเงินและเวลา ร้อยละ 26 เป็นการเพิ่มภาระให้ครูและผู้ปกครอง ร้อยละ 13 เป็นต้น
เครดิตข่าวโดย: มติชน