พฤติกรรม ‘บูลลี่’ เด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก

องค์กรด้านเด็ก เปิดผลสำรวจพบ เด็กกว่าร้อยละ 91 เคยถูกบูลลี่ ตบหัว ล้อบุพการี พูดจาเหยียดหยาม น่าห่วง ร้อยละ 43 คิดจะตอบโต้เอาคืน พร้อมระดมภาคีถอดบทเรียนหาทางออก หวังลดความรุนแรงในเด็กและเยาวชน

วันนี้ (9 มกราคม 2563 ) ที่เดอะฮอลล์ บางกอก เครือข่ายปกป้องเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ร่วมกับ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดเสวนาหัวข้อ “BULLYING” กลั่นแกล้ง ความรุนแรงที่รอวันแระทุ” เพื่อหาทางออกและวิธีแก้ไขปัญหาเด็กโดนกลั่นแกล้ง หรือ บูลลี่

นายอธิวัฒน์ เนียมมีศรี เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่า เครือข่ายฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “บลูลี่ กลั่นแกล้ง ความรุนแรง ในสถานศึกษา” ในกลุ่มเด็ก อายุ10-15 ปี จาก 15 โรงเรียน พบว่า ร้อยละ 91.79 เคยถูกบูลลี่ ส่วนวิธีที่ใช้บูลลี่ คือ การตบหัว ร้อยละ 62.07 รองลงมา ล้อบุพการี ร้อยละ43.57 พูดจาเหยียดหยาม ร้อยละ41.78 และอื่นๆ เช่น นินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดเชิงให้ร้าย เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ 1 ใน 3 หรือ ร้อยละ 35.33 ระบุว่า เคยถูกกลั่นแกล้งประมาณเทอมละ 2 ครั้ง ที่น่าห่วงคือ 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 24.86 ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ3-4ครั้ง ส่วนคนที่แกล้งคือ เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง

“เด็กๆ ร้อยละ 68.93 มองว่า การบูลลี่ ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง และผลกระทบที่เห็นได้ชัด คือ ร้อยละ 42.86 คิดจะโต้ตอบเอาคืน ร้อยละ 26.33 มีความเครียด ร้อยละ 18.2 ไม่มีสมาธิกับการเรียน ร้อยละ 15.73 ไม่อยากไปโรงเรียน ร้อยละ 15.6 เก็บตัว และร้อยละ 13.4 ซึมเศร้า นอกจากนี้ เด็กๆยังต้องการให้ทางโรงเรียนมีบทลงโทษที่ชัดเจน มีครูให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ”นายอธิวัฒน์ กล่าว

เครดิตข่าวโดย: กรุงเทพธุรกิจ
เรื่องอื่นๆ

กรมที่ดิน

ก่อนหน้า