18 มิ.ย. 2563
กาฬสินธ์ุโมเดลต้นแบบจ้างงานบัณฑิต
“สุวิทย์ เมษินทรีย์” ปลื้มโครงการยุวชนอาสาดันผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกาฬสินธุ์จากอันดับ 75 เป็น 68 ของประเทศ มอบทุนยุวชนอาสา 5 แสนบาทต่อยอดธุรกิจ ขยายผล “กาฬสินธ์ุโมเดล” สู่การจ้างงานบัณฑิต-นักศึกษา3 แสนคน ผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ดีเดย์ ก.ย.นี้
หน้าแรก ข่าวเดลินิวส์ การศึกษา
"กาฬสินธ์ุโมเดล"ต้นแบบจ้างงานบัณฑิต
“สุวิทย์ เมษินทรีย์” ปลื้มโครงการยุวชนอาสาดันผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกาฬสินธุ์จากอันดับ 75 เป็น 68 ของประเทศ มอบทุนยุวชนอาสา 5 แสนบาทต่อยอดธุรกิจ ขยายผล “กาฬสินธ์ุโมเดล” สู่การจ้างงานบัณฑิต-นักศึกษา3 แสนคน ผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ดีเดย์ ก.ย.นี้
พุธที่ 17 มิถุนายน 2563 เวลา 18.57 น.
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่เพื่อรับฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการยุวชนอาสา เฟส 1 ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธ์ุ ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่อง โดยในงานได้มีการคัดเลือกผลงานของนักศึกษาจาก 83 โครงการที่นักศึกษาทำร่วมกับชุมชนและชาวบ้านมาต่อยอดทางธุรกิจปรากฏว่า มี 5 โครงการที่ได้รับสิทธิ์และทุนเข้าร่วมโครงการพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรมมูลค่า 1 แสนบาทจากกองทุนยุวสตาร์ทอัพ ได้แก่ 1. โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพระบบเติมอาอาศในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2. โครงการพริกพีค จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3.โครงการการใช้เทคโนโลยีการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 4. โครงการอีซี่ ทริป จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และ5. โครงการการวางแผนธุรกิจระบบเกษตรอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า พอใจในผลการดำเนินงานโครงการยุวชนอาสา เฟส 1 ซึ่งนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์บอกว่า โครงการยุวชนอาสาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมใน จ.กาฬสินธุ์ ดีขึ้น ขยับจากอันดับ 75 มาอยู่อันดับที่ 68 ของประเทศ ถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ที่สำคัญนักศึกษายังโอกาสต่อยอดทางธุรกิจผ่านกองทุนยุวสตาร์ทอัพ โดย อว.จะนำกาฬสินธุ์โมเดลไปขยายผลทั่วประเทศ ผ่านโครงการเงินกู้ 4 แสนล้าน ที่ อว.เสนอของบประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท เพื่อนำมาจ้างงานผ่านโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยจะมีการจ้างงานบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษา บัณฑิตที่ตกค้าง รวมทั้งคนที่ต้องการเปลี่ยนงานมาทำงานกับชุมชนกว่า 7,000 ตำบลทั่วประเทศจำนวน 2 แสนคน ระยะเวลา 1 ปี ได้เงินเดือน 15,000 บาท และจ้างนักศึกษาระดับปี 3-4 จำนวน 1 แสนคน ลงไปทำงานกับชุมชนในระยะเวลา 1 ปีเช่นกันโดยคาดว่าโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจะเริ่มได้ในเดือนกันยายนนี้
“รู้สึกภูมิใจและดีใจกับนักศึกษาที่ได้เห็นปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้าน และนำความรู้ของตัวเองไปเป็นประโยชน์ การทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆ ทำงานเป็นทีม ทำงานข้ามศาสตร์ ทำงานกับชาวบ้าน ได้เรียนรู้จากการลงมือทำเอง มีงานที่ท้าทายไม่เคยทำมาก่อน พร้อมปรับตัวหลังเกิดโควิด-19 เชื่อว่าคนรุ่นใหม่ต้องกล้าคิด กล้าฝัน กล้าล้ม กล้าลุก ไม่หยุดคิด ไม่หยุดฝัน “กัดไม่ปล่อย” และสร้างสรรค์เพื่ออนาคต เป็น Future Changer ได้อย่างแท้จริง” ดร.สุวิทย์ กล่าว
เครดิตข่าวโดย: เดลินิวส์